วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 - , 0 ความคิดเห็น

สำรวจตัวเองหาสาเหตุที่ทำให้ “คุณนอนไม่หลับเพราะอะไร”



คุณนอนไม่หลับเพราะอะไร
                
         มีสาเหตุอยู่หลายอย่างที่อาจทำให้คุณนอนไม่หลับ บางสาเหตุก็ดูเหมือนไม่สลักสำคัญอะไรเลย แต่ก็เป็นปัญหาคล้าย เส้นผมบังภูเขา ถ้าคุณจับจุดๆได้ก็แก้ง่าย แต่ถ้าไม่รู้ปัญหาก็จะวนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จักจบสิ้น คุณควรสำรวจตัวเองดังนี้
 วิธีสำรวจตัวเอง 10 หาสาเหตุของการนอนไม่หลับ


1.คุณเป็นคนหลับยากหรือหลับน้อยมาตั้งแต่เด็กหรือเปล่า?
2.คุณนอนผิดเวลาหรือผิดที่หรือปล่าว?
3.คุณถูกรบกวนจากสิ่งรอบข้างหรือปล่าว?
4.คุณมีปัญหากับเครื่องนอนหรือปล่าว?
5.คุณมีโรคประจำตัวหรือปล่าว?
6.คุณหายใจเป็นปกติหรือเปล่าขณะหลับ?
7.คุณนอนขากระตุกหรือปล่าว?
8.คุณใช้ยาหรือสารกระตุ้นหรือปล่าว?
9.นอนไม่หลับเพราะหิว
10.โรคจิตประสาทก็ทำให้นอนไม่หลับ
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 1 ความคิดเห็น

คุณนอนไม่หลับเพราะอะไร?

                ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอกครับที่นอนไม่ค่อยหลับ มีคนอีกนับล้านที่ไม่สามารถหลับได้อย่างที่ต้องการได้ บางคนยอมก้มหน้าสู้ทนรับผลกระทบที่เกิดจากการนอนหลับไม่พออยู่นานถึง 12 ปีกว่าจะเรียกหาความช่วยเหลือ
                ดอกเตอร์ ซาอูล รูเธนเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญโรคนอนไม่หลับแห่งศูนย์การแพทย์ชาวยิวที่ลองไอแลนด์ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าปัญหาการนอนไม่หลับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่พวกเขาจะต้องทนเอา พวกเขาไม่รู้ว่ามัน มันไม่ใช่ธรรมชาติ เป็นการผิดปกรติอย่างหนึ่งและมีวิธีการมากมายที่สมารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่ทุกคนจะต้องถามตัวเองก่อนว่าพอใจกับนิสัยและรูปแบบการนอนหลับของตัวเองหรือเปล่า ถ้าคำตอบออกมาว่าไม่ นั่นแปลว่าคุณต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในวิถีชีวิตเพื่อช่วยให้รูแบบการหลับดีขึ้น สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ เปลี่ยนนิสัยการนอนแบบเก่าที่คุณไม่พอใจมาเป็นนิสัยการนอนแบบใหม่ที่น่าจะช่วยให้คุณดีขึ้น
                ดอกเตอร์ ซาอูล รูเธนเบิร์ก แนะนำว่า การสำรวจรูปแบบการหลับของตัวเองขั้นแรกควรจะจดบันทึกประจำวันไว้ในสมุดไดอารี สำหรับการจำแนกปัญหาต่างๆ ในสมุดบันทึกนี้จะต้องบันทึกเวลาเข้านอน เวลาตื่น และเวลานานแค่ไหนกว่าจะหลับ ตื่นก่อนกำหนดหรือเปล่า และช่วงเวลาที่มีการงีบหลับตอนกลางวัน ถ้าทำการบันทึกแบบนี้ในสมุดไดอารีติดต่อกันประมาณ สองสามสัปดาห์ ก็จะได้รูปแบบของการหลับที่เป็นของคุณ
วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

คุณหลับเป็นปกติหรือเปล่า?

คุณหลับเป็นปกติหรือเปล่า

                การพิจารณาว่าใครคนหนึ่งนอนหลับเป็นปกติหรือไม่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของแต่ละคนด้วย เช่น อายุ อารมณ์ สภาพอดนอน และสิ่งแวดล้อม
                คนบางคนไม่รู้ตัวว่าตนเองนอนหลับไม่ปกติ เพราะหลับแล้วมารูเรื่องรู้ราวอะไรทั้งสิ้น แต่คนใกล้ชิดหรือคนที่นอนด้วยจะเห็นอาการหลับไม่ปกติของเรา
                ตรงกันข้ามกับบางคนที่รู้สึกว่าตนเองนอนไม่ค่อยหลับ แต่คนที่นอนด้วยเห็นว่าเขาหลับสนิทตลอดทั้งคืนเพราะคนที่คิดว่าตนเองนอนไม่หลับมักรู้สึกว่าช่วงเวลาที่ยังไม่หลับนั้นยาวนานมาก ทั้งๆ ที่อาจหลับนานกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ
                คนหลับไม่สนิทหรือตื่นตอนกลางคืนบ่อย ช่วงกลางวันจะมีอาการเซื่องซึม งวงเหงาหาวนอน อันสืบเนื่องมาจากหลับไม่พอ แต่ไม่รู้สึกว่าตนเองผอดปกติ เพราะเกิดความเคยชิน
                ปัญหาเรื่องการไม่หลับหรือหลับไม่พอดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญเท่าใดนัก แต่จริงๆไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะมันจะส่งผลกระทบลุกลามไปถึงปัญหาครอบครัว รวมทั้งหน้าที่การงาน และถ้าปล่อยก็ยิ่งจะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ จึงควรรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว อย่าได้นิ่งนอนใจเป็นอันขาด
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

สถิติเกี่ยวกับคนนอนหลับไม่พอเพียง

สถิติเกี่ยวกับคนนอนหลับไม่พอเพียง

                65% ของคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วหลับไม่ถึงตามเกณฑ์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง
                36% กลับน้อยกว่า 6.9 ชั่วโมงมีคนจำนวนมากพยายามจะนอนหลับให้เต็มที่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ไม่เคยทำได้
                68% ของคนโตเป็นผู้ใหญ่นอนหลับไม่เต็มตา – เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการหลับสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
                68% ของคนนอนไม่พอเพียงเป็นคนทำงานผลัดกลางคืน
                62% ต้องใช้นาฬิกาปลุกให้ตื่นตอนเช้า
                51% ขับรถขณะอยู่ในอาการสะลืมสะลือ
                17% หลับในขณะขับรถ
                32 – 42% เครียดและหงุดหงิดขณะขับรถ
                61% สมาธิลดลง
                51% ทำงานได้น้อยลง
                40% ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง
                51% ของผู้หญิงบอกว่าปัญหานอนหลับไม่พอมีผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน
                46% บอกว่ามีผลทำงานบ้านไม่ได้เต็มที่
            28% บอกว่ามีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่สมรส
            28% มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกๆ
                27% บอกว่ามีผลกระทบต่องานอาชีพ
                24% บอกว่ามีผลกระทบต่อการดูแลครอบครัว
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

หลับไม่พอจะเกิดอะไรขึ้น?

หลับไม่เพียงพอ

                การหลับมีประโยชน์อะไรอาจมองเห็นไม่ชัด แต่ถ้าหลับไม่เพียงพอจะมีผลออกมาชัดเจน การหลับไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนชั่วโมง หรือช่วงเวลาของการหลับ มีความแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนชอบนอนหัวค่ำตื่นเช้า บางคนนอนดึกตื่นสาย บางคนนอนกลางวันทำงานกลางคืน บางคนนอนหลับเพียงวันละ 4 ชั่งโมงก็พอแล้ว แต่บางคนตอนนอนนอน 7 – 8 ชั่วโมง ข้อสำคัญเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น แจ่มใสมีเรียวแรง แสดงว่านอนเต็มอิ่ม ถือได้ว่าเป็นการนอนที่เพียงพอ
                มีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะต้องการเวลานอนหลับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ถ้าตอนหนุ่มสาวเคยหลับวันละ 7 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นจะต้องหลับวันละ 7 ชั่วโมงครึ่งเมื่อแก่ตัวลง แต่ถ้าหลับยาวเกินกว่า 7 ชั่วโมง นั่นไม่ได้เกี่ยวกับอายุ แต่เป็นการชดเชยที่ก่อนหน้านี้อดนอนหรือนอนหลับไม่พอเพียง อ่างไรก็ตามความเพียงพอของการหลับควรคำนึงถึงทั้งคุณภาพและปริมาณควบคู่กันไป
                สำหรับเรื่องการหลับไม่พอเพียงสั้น สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือปัญหาเรื่องความจำและสมาธิ โดยทั่วไปแล้วคนอดนอนมักจะนึกหาคำพูดำไม่ค่อยออก อธิบายสิ่งที่คิดอยู่ในหัวไม่ถูก นอกจากนั้นแล้วคนนอนไม่พอมักจะมีอารมณ์หงุดหงิด และถ้าอดนอนมากเข้าอาจถึงตายได้ ไม่ได้ตายเพราะอดนอนหรอกครับ แต่ตายเพราะติดโรคง่าย จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า หนูทดลองที่อดนอนจะตายเพราะการติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่าการหลับมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคมันช่วงฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายให้กลับคืนมา
                นอกจากนั้นแล้วการหลับไม่พอเพียงยังมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกายอีกด้วย ทำให้ระบบส่งสัญญาณของเส้นประสาทเปลี่ยนไป รวมทั้งระดับฮอร์โมนก็เปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่าง เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติมโตของร่างกาย ซึ่งปกติจะหลั่งออกมามากที่สุดตอนกำลังหลับ ดังนั้นเด็กที่นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่เพียงพอจะขาดฮอร์โมนตัวนี้ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ร่างกายจะแคระเกรนกว่าเด็กปกติทั่วไป
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

นอนหลับทำไม?

นอนหลับทำไม

การนอนหลับถ้าดูแต่ผิวเผินเหมือนเป็นการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าไม่ต้องหลับเสียอย่างเราก็สามารถเอาเวลานั้นไปทำอะไรต่อมิดะไรได้เยอะแยะ แต่ถึงอย่างไรการหลับก็ยังเป็นความจำเป็นที่ขาดเสียมิได้
                มีเรื่องให้ถกกันเสมอมาว่าทำไมคนเราต้องหลับ ทำไมสัตว์ส่วนใหญ่ต้องหลับ และต้องการหลับมากน้อยแค่ไหน สัตว์ชั้นสูงส่วนใหญ่ต้องการพักผ่อนนอนหลับไม่เคลื่อนไหว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการบันทึกคลื่นสมองขณะกำลังหลับของนก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า บรรดาแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีการหลับกันบ้างหรือเปล่า
                ไมมีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมต้องหลับ คำตอบพื้นๆ ที่สุดก็ว่า การหลบช่วยในการฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกาย ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง บางทฤษฎีก็ว่า การฝันร้ายขณะกำลังหลับช่วยทำให้ความจำของคนเราดีขึ้น และบางทฤษฎีก็ว่า การหลับเป็นการอัดประจุไฟฟ้าแก่สมอง เพื่อรักษาสารประกอบทางเคมีของสมองให้คงอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอะไรทำนองนั้นแหละ
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

หลับแบบกลอกตาเร็ว

หลับแบบกลอกตาเร็ว
การหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) เส้นกราฟของคลื่นสมองจะมีลักษณะเหมือนคนที่กำลังตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อจะอยู่ในสภาพคลายตัวเต็มที่ เว้นแต่กล้ามเนื้อที่ควบคุมลูกตาให้กลอกไปมาเป็นพักๆ จังหวะการหายใจและการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ลูกตากลอกไปมา
                การหลับแบบกลอกตาเร็วในช่วงแรกจะกินเวลาประมาณ 1 – 5 นาที แล้วจะนานขึ้นเรื่อยจนถึง 20 – 40 นาทีตอนช่วงก่อนตื่น ช่วงนี้ถ้าถูกปลุกจะตื่นง่ายหรือตื่นเองโดยไม่ต้องปลุก เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วมักจำความฝันต่างๆ ช่วงก่อนตื่นได้
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 1 ความคิดเห็น

หลับแบบคลื่นสมองช้า


การหลับของคนเราจะเริ่มหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ประมาณ 60 – 90 นาที จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) อยู่ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วก็กลับไปหลับแบบแรกสลับกันไปมาเป็นลักษณะวงจรไปเรื่อยๆ โดยช่วงเวลาของการหลับแบบคลื่นสมองช้า (SWS) จะสั้นลง และช่วงเวลาของการหลับแบบกลอกตาเร็วจะยาวขึ้นเมื่อใกล้ตื่น
                การหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ยังแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามลักษณะของคลื่นสมอง (EEF) ดังนี้
                ระยะที่ 1 จะกินเวลาประมาณ 1 – 7 นาที เป็นช่วงที่คลื่นสมองจะเริ่มช้าลง  ระยะนี้ยังหลับไม่สนิท แค่มีเสียงรบกวนหรือถูกแตะตัวเบาๆ ก็ตื่นแล้ว
                ระยะที่ 2 จะกินเวลาประมาณ 10 – 254 นาที เป็นช่วงที่คลื่นสมองช้าลงอีก
                ลักษณะการหลับในระยะที่ 1 – 2 อยู่ในสภาพหลับๆ ตื่นๆ ลูกตาจะกลอกไปมาช้าๆ อยู่ใต้หนังตาที่ปิดอยู่ การหายใจยังไม่สม่ำเสมอ อาจมีการหยุดหายใจเป็นพักๆ
                ระยะที่ 3 กินเวลาเพียงไม่กี่นาที คลื่นสมองช้าลงอีกและกว้างขึ้น
                ระยะที่ 4 กินเวลาประมาณ 20 - 40 นาที คลื่นสมองช้าลงและกว้างกว่าระยะที่ 3
                ลักษณะการหลับในระยะที่ 3 – 4 ตะอยู่ในสภาพหลับสนิท ลูกตาหยุดการเคลื่อนไหว จังหวะการหายใจสม่ำเสมอและช้าลง ชีพจรและความดันโลหิตลดลง กล้ามเนื้อคลายตัวเต็มที่ ปลุกให้ตื่นยาก ถ้าถูกปลุกจนตื่นจะสับสน จำสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ เช่นเดินละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน หรือเคี้ยวฟันขณะหลับ
                พอพ้นระยะที่นี้ไปแล้วก็จะถอยกลับไปสู่ระยะที่ 3 แบะ 2 ตามลำดับ แต่ช่วงถอยนี้จะใช้เวลาสั้นกว่าคือประมาณ 5 – 10 นาที จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นของการหลับแบบกลอกตาเร็ว คนหลับอาจขยับตัวหรือพลิกไปมา แต่นิ่งไม่ใช่ตื่น ยังคงหลับสนิทเหมือนเดิม แล้วก็จะวนหลับไปสู่การหลับแบบคลื่นสมองช้า วนกลับไปกลับมาอย่างนี้ประมาณ 4 – 5 รอบคลอดช่วงของการนอนหลับ 8 ชั่วโมง
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , , , 0 ความคิดเห็น

เกิดอะไรขึ้นกับคุณขณะหลับ?

เกิดอะไรขึ้นกับคุณขณะหลับ

                            คุณอาจสงสัยว่าตอนกำลังหลับเราไม่ได้ทำอะไรเลยหรือ? อันที่จริงมันน่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อหลับสนิท ตาก็ปิด หายใจสม่ำเสมอ ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงหรือแสง อย่างไรก็ตามเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงในสมองจะพบว่า ขณะกำลังหลับสมองของคนเรายังทำงานอยู่อย่างคึกคัก นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกการทำงานของสมองโดยใช้เครื่องบันทึกคลื่นสมองที่เรียกว่า Electroencephalograph หรือ EEG ในรูปของเส้นกราฟ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า คลื่นสมอง
                การหลับของคนเราในแต่ละคืนนั้นจะเป็นในลักษณะวงจร ซึ่งดูจากกราฟคลื่นสมองจะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 - 3 ครั้งตลอดช่วงเวลาการหลับ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ หลับแบบคลื่นสมองช้า หรือ Slow Wave Sleep (SWS) และ หลับแบบกลอกตาเร็ว หรือ Rapid Eye Movement (REM)
                จากการวิจัยพบว่า ทารกจะหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ สลับกับหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ใหญ่จะหลับแบบคลื่นสมองช้า (SWS) 80 เปอร์เซ็นต์ และหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนสูงอายุจะหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) ไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์