วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

นอนหลับทำไม?

นอนหลับทำไม

การนอนหลับถ้าดูแต่ผิวเผินเหมือนเป็นการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าไม่ต้องหลับเสียอย่างเราก็สามารถเอาเวลานั้นไปทำอะไรต่อมิดะไรได้เยอะแยะ แต่ถึงอย่างไรการหลับก็ยังเป็นความจำเป็นที่ขาดเสียมิได้
                มีเรื่องให้ถกกันเสมอมาว่าทำไมคนเราต้องหลับ ทำไมสัตว์ส่วนใหญ่ต้องหลับ และต้องการหลับมากน้อยแค่ไหน สัตว์ชั้นสูงส่วนใหญ่ต้องการพักผ่อนนอนหลับไม่เคลื่อนไหว นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการบันทึกคลื่นสมองขณะกำลังหลับของนก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า บรรดาแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีการหลับกันบ้างหรือเปล่า
                ไมมีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมต้องหลับ คำตอบพื้นๆ ที่สุดก็ว่า การหลบช่วยในการฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกาย ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง บางทฤษฎีก็ว่า การฝันร้ายขณะกำลังหลับช่วยทำให้ความจำของคนเราดีขึ้น และบางทฤษฎีก็ว่า การหลับเป็นการอัดประจุไฟฟ้าแก่สมอง เพื่อรักษาสารประกอบทางเคมีของสมองให้คงอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอะไรทำนองนั้นแหละ
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

หลับแบบกลอกตาเร็ว

หลับแบบกลอกตาเร็ว
การหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) เส้นกราฟของคลื่นสมองจะมีลักษณะเหมือนคนที่กำลังตื่นอยู่ แต่กล้ามเนื้อจะอยู่ในสภาพคลายตัวเต็มที่ เว้นแต่กล้ามเนื้อที่ควบคุมลูกตาให้กลอกไปมาเป็นพักๆ จังหวะการหายใจและการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ลูกตากลอกไปมา
                การหลับแบบกลอกตาเร็วในช่วงแรกจะกินเวลาประมาณ 1 – 5 นาที แล้วจะนานขึ้นเรื่อยจนถึง 20 – 40 นาทีตอนช่วงก่อนตื่น ช่วงนี้ถ้าถูกปลุกจะตื่นง่ายหรือตื่นเองโดยไม่ต้องปลุก เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วมักจำความฝันต่างๆ ช่วงก่อนตื่นได้
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , 1 ความคิดเห็น

หลับแบบคลื่นสมองช้า


การหลับของคนเราจะเริ่มหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ประมาณ 60 – 90 นาที จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) อยู่ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วก็กลับไปหลับแบบแรกสลับกันไปมาเป็นลักษณะวงจรไปเรื่อยๆ โดยช่วงเวลาของการหลับแบบคลื่นสมองช้า (SWS) จะสั้นลง และช่วงเวลาของการหลับแบบกลอกตาเร็วจะยาวขึ้นเมื่อใกล้ตื่น
                การหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ยังแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามลักษณะของคลื่นสมอง (EEF) ดังนี้
                ระยะที่ 1 จะกินเวลาประมาณ 1 – 7 นาที เป็นช่วงที่คลื่นสมองจะเริ่มช้าลง  ระยะนี้ยังหลับไม่สนิท แค่มีเสียงรบกวนหรือถูกแตะตัวเบาๆ ก็ตื่นแล้ว
                ระยะที่ 2 จะกินเวลาประมาณ 10 – 254 นาที เป็นช่วงที่คลื่นสมองช้าลงอีก
                ลักษณะการหลับในระยะที่ 1 – 2 อยู่ในสภาพหลับๆ ตื่นๆ ลูกตาจะกลอกไปมาช้าๆ อยู่ใต้หนังตาที่ปิดอยู่ การหายใจยังไม่สม่ำเสมอ อาจมีการหยุดหายใจเป็นพักๆ
                ระยะที่ 3 กินเวลาเพียงไม่กี่นาที คลื่นสมองช้าลงอีกและกว้างขึ้น
                ระยะที่ 4 กินเวลาประมาณ 20 - 40 นาที คลื่นสมองช้าลงและกว้างกว่าระยะที่ 3
                ลักษณะการหลับในระยะที่ 3 – 4 ตะอยู่ในสภาพหลับสนิท ลูกตาหยุดการเคลื่อนไหว จังหวะการหายใจสม่ำเสมอและช้าลง ชีพจรและความดันโลหิตลดลง กล้ามเนื้อคลายตัวเต็มที่ ปลุกให้ตื่นยาก ถ้าถูกปลุกจนตื่นจะสับสน จำสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ เช่นเดินละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน หรือเคี้ยวฟันขณะหลับ
                พอพ้นระยะที่นี้ไปแล้วก็จะถอยกลับไปสู่ระยะที่ 3 แบะ 2 ตามลำดับ แต่ช่วงถอยนี้จะใช้เวลาสั้นกว่าคือประมาณ 5 – 10 นาที จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นของการหลับแบบกลอกตาเร็ว คนหลับอาจขยับตัวหรือพลิกไปมา แต่นิ่งไม่ใช่ตื่น ยังคงหลับสนิทเหมือนเดิม แล้วก็จะวนหลับไปสู่การหลับแบบคลื่นสมองช้า วนกลับไปกลับมาอย่างนี้ประมาณ 4 – 5 รอบคลอดช่วงของการนอนหลับ 8 ชั่วโมง
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 - , , , , 0 ความคิดเห็น

เกิดอะไรขึ้นกับคุณขณะหลับ?

เกิดอะไรขึ้นกับคุณขณะหลับ

                            คุณอาจสงสัยว่าตอนกำลังหลับเราไม่ได้ทำอะไรเลยหรือ? อันที่จริงมันน่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อหลับสนิท ตาก็ปิด หายใจสม่ำเสมอ ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงหรือแสง อย่างไรก็ตามเมื่อมองให้ลึกเข้าไปถึงในสมองจะพบว่า ขณะกำลังหลับสมองของคนเรายังทำงานอยู่อย่างคึกคัก นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกการทำงานของสมองโดยใช้เครื่องบันทึกคลื่นสมองที่เรียกว่า Electroencephalograph หรือ EEG ในรูปของเส้นกราฟ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า คลื่นสมอง
                การหลับของคนเราในแต่ละคืนนั้นจะเป็นในลักษณะวงจร ซึ่งดูจากกราฟคลื่นสมองจะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 - 3 ครั้งตลอดช่วงเวลาการหลับ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ หลับแบบคลื่นสมองช้า หรือ Slow Wave Sleep (SWS) และ หลับแบบกลอกตาเร็ว หรือ Rapid Eye Movement (REM)
                จากการวิจัยพบว่า ทารกจะหลับแบบคลื่นสมองช้า(SWS) ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ สลับกับหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ใหญ่จะหลับแบบคลื่นสมองช้า (SWS) 80 เปอร์เซ็นต์ และหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนสูงอายุจะหลับแบบกลอกตาเร็ว (REM) ไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์