วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 1 ความคิดเห็น

คุณนอนไม่หลับเพราะอะไร?

                ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอกครับที่นอนไม่ค่อยหลับ มีคนอีกนับล้านที่ไม่สามารถหลับได้อย่างที่ต้องการได้ บางคนยอมก้มหน้าสู้ทนรับผลกระทบที่เกิดจากการนอนหลับไม่พออยู่นานถึง 12 ปีกว่าจะเรียกหาความช่วยเหลือ
                ดอกเตอร์ ซาอูล รูเธนเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญโรคนอนไม่หลับแห่งศูนย์การแพทย์ชาวยิวที่ลองไอแลนด์ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าปัญหาการนอนไม่หลับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่พวกเขาจะต้องทนเอา พวกเขาไม่รู้ว่ามัน มันไม่ใช่ธรรมชาติ เป็นการผิดปกรติอย่างหนึ่งและมีวิธีการมากมายที่สมารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่ทุกคนจะต้องถามตัวเองก่อนว่าพอใจกับนิสัยและรูปแบบการนอนหลับของตัวเองหรือเปล่า ถ้าคำตอบออกมาว่าไม่ นั่นแปลว่าคุณต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในวิถีชีวิตเพื่อช่วยให้รูแบบการหลับดีขึ้น สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ เปลี่ยนนิสัยการนอนแบบเก่าที่คุณไม่พอใจมาเป็นนิสัยการนอนแบบใหม่ที่น่าจะช่วยให้คุณดีขึ้น
                ดอกเตอร์ ซาอูล รูเธนเบิร์ก แนะนำว่า การสำรวจรูปแบบการหลับของตัวเองขั้นแรกควรจะจดบันทึกประจำวันไว้ในสมุดไดอารี สำหรับการจำแนกปัญหาต่างๆ ในสมุดบันทึกนี้จะต้องบันทึกเวลาเข้านอน เวลาตื่น และเวลานานแค่ไหนกว่าจะหลับ ตื่นก่อนกำหนดหรือเปล่า และช่วงเวลาที่มีการงีบหลับตอนกลางวัน ถ้าทำการบันทึกแบบนี้ในสมุดไดอารีติดต่อกันประมาณ สองสามสัปดาห์ ก็จะได้รูปแบบของการหลับที่เป็นของคุณ
วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

คุณหลับเป็นปกติหรือเปล่า?

คุณหลับเป็นปกติหรือเปล่า

                การพิจารณาว่าใครคนหนึ่งนอนหลับเป็นปกติหรือไม่ ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของแต่ละคนด้วย เช่น อายุ อารมณ์ สภาพอดนอน และสิ่งแวดล้อม
                คนบางคนไม่รู้ตัวว่าตนเองนอนหลับไม่ปกติ เพราะหลับแล้วมารูเรื่องรู้ราวอะไรทั้งสิ้น แต่คนใกล้ชิดหรือคนที่นอนด้วยจะเห็นอาการหลับไม่ปกติของเรา
                ตรงกันข้ามกับบางคนที่รู้สึกว่าตนเองนอนไม่ค่อยหลับ แต่คนที่นอนด้วยเห็นว่าเขาหลับสนิทตลอดทั้งคืนเพราะคนที่คิดว่าตนเองนอนไม่หลับมักรู้สึกว่าช่วงเวลาที่ยังไม่หลับนั้นยาวนานมาก ทั้งๆ ที่อาจหลับนานกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ
                คนหลับไม่สนิทหรือตื่นตอนกลางคืนบ่อย ช่วงกลางวันจะมีอาการเซื่องซึม งวงเหงาหาวนอน อันสืบเนื่องมาจากหลับไม่พอ แต่ไม่รู้สึกว่าตนเองผอดปกติ เพราะเกิดความเคยชิน
                ปัญหาเรื่องการไม่หลับหรือหลับไม่พอดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญเท่าใดนัก แต่จริงๆไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะมันจะส่งผลกระทบลุกลามไปถึงปัญหาครอบครัว รวมทั้งหน้าที่การงาน และถ้าปล่อยก็ยิ่งจะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ จึงควรรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว อย่าได้นิ่งนอนใจเป็นอันขาด
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

สถิติเกี่ยวกับคนนอนหลับไม่พอเพียง

สถิติเกี่ยวกับคนนอนหลับไม่พอเพียง

                65% ของคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วหลับไม่ถึงตามเกณฑ์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง
                36% กลับน้อยกว่า 6.9 ชั่วโมงมีคนจำนวนมากพยายามจะนอนหลับให้เต็มที่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ไม่เคยทำได้
                68% ของคนโตเป็นผู้ใหญ่นอนหลับไม่เต็มตา – เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการหลับสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
                68% ของคนนอนไม่พอเพียงเป็นคนทำงานผลัดกลางคืน
                62% ต้องใช้นาฬิกาปลุกให้ตื่นตอนเช้า
                51% ขับรถขณะอยู่ในอาการสะลืมสะลือ
                17% หลับในขณะขับรถ
                32 – 42% เครียดและหงุดหงิดขณะขับรถ
                61% สมาธิลดลง
                51% ทำงานได้น้อยลง
                40% ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง
                51% ของผู้หญิงบอกว่าปัญหานอนหลับไม่พอมีผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน
                46% บอกว่ามีผลทำงานบ้านไม่ได้เต็มที่
            28% บอกว่ามีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่สมรส
            28% มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกๆ
                27% บอกว่ามีผลกระทบต่องานอาชีพ
                24% บอกว่ามีผลกระทบต่อการดูแลครอบครัว
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 - , , 0 ความคิดเห็น

หลับไม่พอจะเกิดอะไรขึ้น?

หลับไม่เพียงพอ

                การหลับมีประโยชน์อะไรอาจมองเห็นไม่ชัด แต่ถ้าหลับไม่เพียงพอจะมีผลออกมาชัดเจน การหลับไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนชั่วโมง หรือช่วงเวลาของการหลับ มีความแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนชอบนอนหัวค่ำตื่นเช้า บางคนนอนดึกตื่นสาย บางคนนอนกลางวันทำงานกลางคืน บางคนนอนหลับเพียงวันละ 4 ชั่งโมงก็พอแล้ว แต่บางคนตอนนอนนอน 7 – 8 ชั่วโมง ข้อสำคัญเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น แจ่มใสมีเรียวแรง แสดงว่านอนเต็มอิ่ม ถือได้ว่าเป็นการนอนที่เพียงพอ
                มีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะต้องการเวลานอนหลับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ถ้าตอนหนุ่มสาวเคยหลับวันละ 7 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นจะต้องหลับวันละ 7 ชั่วโมงครึ่งเมื่อแก่ตัวลง แต่ถ้าหลับยาวเกินกว่า 7 ชั่วโมง นั่นไม่ได้เกี่ยวกับอายุ แต่เป็นการชดเชยที่ก่อนหน้านี้อดนอนหรือนอนหลับไม่พอเพียง อ่างไรก็ตามความเพียงพอของการหลับควรคำนึงถึงทั้งคุณภาพและปริมาณควบคู่กันไป
                สำหรับเรื่องการหลับไม่พอเพียงสั้น สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือปัญหาเรื่องความจำและสมาธิ โดยทั่วไปแล้วคนอดนอนมักจะนึกหาคำพูดำไม่ค่อยออก อธิบายสิ่งที่คิดอยู่ในหัวไม่ถูก นอกจากนั้นแล้วคนนอนไม่พอมักจะมีอารมณ์หงุดหงิด และถ้าอดนอนมากเข้าอาจถึงตายได้ ไม่ได้ตายเพราะอดนอนหรอกครับ แต่ตายเพราะติดโรคง่าย จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า หนูทดลองที่อดนอนจะตายเพราะการติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่าการหลับมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคมันช่วงฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายให้กลับคืนมา
                นอกจากนั้นแล้วการหลับไม่พอเพียงยังมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกายอีกด้วย ทำให้ระบบส่งสัญญาณของเส้นประสาทเปลี่ยนไป รวมทั้งระดับฮอร์โมนก็เปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่าง เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติมโตของร่างกาย ซึ่งปกติจะหลั่งออกมามากที่สุดตอนกำลังหลับ ดังนั้นเด็กที่นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่เพียงพอจะขาดฮอร์โมนตัวนี้ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ร่างกายจะแคระเกรนกว่าเด็กปกติทั่วไป